หน้าบ้านเว็บ แนะนำบุคลากรภายใน สนง.วัฒนธรรม ภารกิจหลักของ สนง.วัฒนธรรม วิสัยทัศน์ของ สนง.วัฒนธรรม นโยบายของ สนง.วัฒนธรรม โครงการต่าง ๆ ของสนง.วัฒนธรรม กระดานข่าว / webboard เซ็นต์สมุดเยี่ยม / guestbook ผู้ดูแลเว็บสนง.วัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
<-- น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบรูณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี . . .
     
   
  แผนที่ทางวัฒนธรรม
  ข้อมูลประจำจังหวัด
  ประวัติศาสตร์จันทบุรี
  สถานที่สำคัญของจังหวัด
  ของดีประจำท้องถิ่น
  วิถีชีวิตชาวจันท์
  ธรรมชาติวิทยา
  บุคคลสำคัญของท้องถิ่น
  ภูมิปัญญาชาวบ้าน
 
 


กรอบและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี

๑. สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม
๒. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ – ๑๑
๓. สาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๔. แผนแม่บทวัฒนธรรม
๕. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงวัฒนธรรม
๖. แผนยุทธศาสตร์จังหวัดจันทบุรี
๗. แผนยุทธศาสตร์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี

๑. สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่เกี่ยวข้องกับงานวัฒนธรรม
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ ๔ แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม

มาตรา ๗๙ รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านานและศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่าง ศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรม
ของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต

มาตรา ๘๐ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้

(๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาค
ของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห
์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
และพึ่งพาตนเองได้

(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าว
ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมาย

(๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
และสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร
ทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษา ให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐ

(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุน
สนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ

(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึกและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณ
ีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๒. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ – ๑๑
การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๔)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ ภายใต้วิสัยทัศน์ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน” ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์
ซึ่งสภาพัฒน์ชี้ว่าเป็นแผนแห่งความพอเพียงและยั่งยืน โดยมีความสุขเป็นเป้าหมาย
ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เหมาะสม โดยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างของระบบต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีศักยภาพ แข่งขันได้ในกระแสโลกาภิวัฒน์ และ สร้างฐานความรู้ให้เป็นภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ นี้ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ ๕ ด้าน คือ คน ชุมชน โครงสร้างเศรษฐกิจ ทรัพยากรและการสร้างธรรมาภิบาล รายละเอียดดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
        เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการพัฒนาคน ทั้งในมิติของจริยธรรมและมิติของความรู้ มุ่งสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน” โดยนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ ทั้งการเร่งปฏิรูปการศึกษา ขยายรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งการ “เรียนให้รู้” การพัฒนาหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับ
การพัฒนาด้านจิตใจ เพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมฐานความรู้ และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมเป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
         ในฐานการใช้งบประมาณ การใช้ทรัพยากร เพื่อการแก้ไขปัญหาของชุมชน ขบวนการของการทำแผนชุมชน ในการสร้างสมดุลระหว่างหนี้สินและราย ได้ของชุมชน การดูแลทรัพยากรธรรมชาติในหมู่บ้าน และจะบริหารจัดการอย่างไร
ส่วนหน้าที่ของรัฐบาลจะเข้ามาเสริมในด้าน ชุมชน ถ้าวันนี้ไม่มียุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนที่แยกออกมาต่างหาก
รัฐธรรมนูญที่กำหนดการกระจายอำนาจ ไปจะเป็นเพียงการให้เงินลงไปเท่านั้น แต่เงินไม่ได้บวกกับปัญญาก็จะไม่ยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน           จากปัญหาด้านเศรษฐกิจกับโครงสร้างการผลิตและการบริการยังไม่สมดุล จึงต้องมีการปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ เน้นการผลิตที่เป็นเชิงมูลค่าเพิ่ม เริ่มกระจายความเสี่ยงการผลิตจากการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมอย่างเดียวลงสู่ภาคบริการ และเน้นจุดแข็งด้านการเกษตรเข้าสู่อุตสาหกรรมเกษตร สร้างความมั่นคงของอาหารในระดับชุมชน เน้นการออมเพื่อเป็นฐาน
ในการลงทุนในอนาคต เน้นยุทธศาสตร์เรื่องพลังงานที่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม           ได้วางแนวทางการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ ๔ แนวทางคือ
๑. การรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศน์ เพื่อความยั่งยืนของฐานการผลิต การดำรงชีวิตและการพึ่งตนเอง
ของสังคมชุมชน
๒. การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน
๓. การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๔. การบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อสร้างพื้นฐานของการพัฒนา โดยอาศัยพื้นฐานภูมิ ปัญญาท้องถิ่นร่วมกับเทคโนโลยี
ที่นำไปสู่การยกระดับความสามารถ การจัดการ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน             การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลมากขึ้น ปรับโครงสร้าง กลไก และกระจายการ
จัดสรรทรัพยากรภาครัฐสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถรับผิดชอบจัดบริการ
สาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ สังคม แก่ท้องถิ่นชุมชนได้อย่างแท้จริง เสริมความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้เข้าร่วมในการบริหารจัดการประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือระหว่างภาคราชการ บ้าน วัด โรงเรียน และสื่อในการปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องธรรมาภิบาล ส่งเสริมภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็ง สุจริต และมีธรรมาภิบาล
เพิ่มขึ้น

ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ – ๑๐
โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และ “สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ โดยมีการจัดทำวิสัยทัศน์ประเทศไทยปี พ.ศ.๒๕๗๐ ซึ่งพิจารณาถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และกำหนดวิสัยทัศน์ปี พ.ศ.๒๕๗๐ ไว้ดังนี้

“คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง ยึดมั่นใน วัฒนธรรมประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาล การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน อยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

กรอบแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงเป็นการดำเนินการเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว โดยมีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง และคำนึงถึงบริบทการเปลี่ยนแปลงที่จะเป็นทั้งโอกาสและข้อจำกัด
ของการพัฒนาในแนวทางดังกล่าว หลักการสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ จึงมีดังนี้

(๑) พัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และขับเคลื่อนให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในทุกระดับ
(๒) ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชน
(๓) พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลในทุกมิติ อย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม
(๔) ยึดวิสัยทัศน์ปี พ.ศ.๒๕๗๐ เป็นเป้าหมาย ซึ่งจะส่งผลให้บรรลุการพัฒนาที่อยู่บนรากฐานของสังคมไทย อยู่บนกรอบแนวคิดของการพัฒนาบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประเทศมีสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเสาหลักของความเป็นปึกแผ่นของคนในชาติ ครอบครัวมีความสุขเป็นพื้นฐานที่สร้างคนเป็นคนดี ชุมชนมีความเข้มแข็ง
และมีบทบาทในการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขัน มีการบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ มีกฎระเบียบและกฎหมายที่บังคับใช้อย่างเป็นธรรม และประเทศไทยมีความเชื่อมโยงกับประเทศ ภูมิภาคและอยู่ร่วมกัน
อย่างมีความสุข

๓. สาระสำคัญของนโยบายรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
      นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อรัฐสภาในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ ที่รัฐบาล ถือเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องนำประเทศไทยให้รอดพ้นจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกที่กำลังเกิดขึ้นและพัฒนา
ไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน แก้ไขวิกฤตทางสังคมที่มีความแตกแยกและพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยุติวิกฤตทางการเมืองและปฏิรูปการเมืองให้มีความมั่นคงตามแนวทางระบอบ ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ในการนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าวภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก ๔ ประการคือ

๑) ปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มีความมั่นคงในการเป็นศูนย์รวมจิตใจและ
ความรักสามัคคีของคนในชาติ และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือความขัดแย้งทุกรูปแบบ พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อป้องกันมิให้มีการล่วงละเมิดพระบรมเดชานุ ภาพอย่างจริงจัง
๒) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ บนพื้นฐานของความถูกต้อง ยุติธรรมและความยอมรับของทุกภาคส่วน
๓) ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวอย่างยั่งยืน และบรรเทาผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ประชาชนจะประสบ
๔) พัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเมือง ให้มีความมั่นคง มีการปฏิบัติตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของสากล
นโยบายรัฐบาล อภิสิทธิ์ รัฐบาล จะบริหารราชการแผ่นดินโดยน้อมนำหลัการของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้น การใช้คุณธรรมนำความรู้ และจะปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างเคร่งครัด โดยแบ่งการดำเนินการเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการและมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จในปีแรกอย่างชัดเจน และระยะการบริหารราชการ ๓ ปีของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป โดยมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ดังนี้

นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
นโยบายศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
         -ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุกด้าน รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ให้มีความก้าวหน้า มีการค้นคว้า วิจัย ฟื้นฟู และพัฒนา พร้อมทั้งฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการ
เรียนรู้ของประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน -เสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวร่วมกับสถาบันทางศาสนา สถาบันการศึกษา และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีและการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมที่มีผลกระทบ
ต่อการเบี่ยงเบนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ สร้างกระแสเชิงบวกให้แก่สังคม และเปิดพื้นที่สาธารณะที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน
        -สนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทยทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทยเพื่อการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่สู่สังคมโลก ตลอดจนใช้ประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชาวโลก
และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
        -ส่งเสริมการปรับปรุงองค์กรและกลไกที่รับผิดชอบด้านศาสนา เพื่อให้การบริหารจัดการ ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา มีความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจอันดีและสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา เพื่อนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนใช้หลักธรรม
ในการดำรงชีวิตมากขึ้น


แผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๙)
กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๙) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม
ของทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม อันจะนำไปสู่เป้าหมายสำคัญ คือพัฒนาสังคมไทยให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีความรู้คู่ คุณธรรม สามารถดำรงภูมิปัญญาของสังคมไทย ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสมและเท่าทัน กับการเปลี่ยนแปลง ของโลกปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสรุปสาระสำคัญของแผนแม่บทวัฒนธรรมแห่งชาติได้ ดังนี้

๑. วิสัยทัศน์
ใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างสังคมคุณธรรม

๒. เป้าประสงค์
๒.๑ ระดับบุคคล
- คนไทยมีความรู้ ความเข้าใจงานด้านวัฒนธรรม และสามารถรักษาอัตลักษณ์ของตนบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- คนไทยรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีค่านิยม และปรับปรุงวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของชุมชนและสังคม
- คนไทยมีความภูมิใจในความเป็นไทยและมีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- คนไทยใช้คุณธรรมนำความรู้สร้างสรรค์สังคมให้เข้มแข็งและมั่นคง
๒.๒ ระดับชุมชน/สังคม
- สังคมเป็นสังคมแห่งความสงบสุข มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
- สังคมไทยเป็นสังคมแห่งคุณธรรม มีเครือข่ายความร่วมมือและมีความสมัครสมานสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม
๒.๓ ระดับประเทศ
- ประเทศไทยสามารถเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปทั่วโลก และใช้วัฒนธรรมเป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์หรือแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
- ประเทศไทยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม

๓. พันธกิจ
๓.๑ อุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติและความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้คงอยู่อย่างมั่นคง
๓.๒ สนองงานสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้สืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
๓.๓ สร้างสรรค์สังคมสันติสุขด้วยมิติทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมในทุกระดับ
๓.๔ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทางวัฒนธรรมเพื่อเชิดชูคุณค่าและจิตวิญญาณของความเป็นไทย
๓.๕ สร้างคุณค่าทางสังคมและส่งเสริมมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรม

๔. ยุทธศาสตร์
๔.๑ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาระบบบริหารจัดการงาน ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมเป้าหมาย
๔.๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ อนุรักษ์ สืบทอด และส่งเสริมการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมบนพื้นฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรม
๔.๓ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ ธำรง รักษา สถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้คงอยู่คู่สังคมไทย
๔.๔ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างสังคมคู่คุณธรรมในกระแสโลกาภิวัตน์
๔.๕ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ สร้างภาคีขับเคลื่อนการดำเนินงานทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
๔.๖ ยุทธศาสตร์ที่ ๖ นำทุนทางวัฒนธรรมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์กระทรวงวัฒนธรรม

วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรในการบูรณาการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมสู่ประชาชน เพื่อความภูมิใจในความเป็นไทย และมีวิถีชีวิตที่ดีงามบนพื้นฐานวัฒนธรรม นำสู่สังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน

พันธกิจ
๑. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของชาติ และสนองงานสำคัญของสถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ให้มีการสืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
๒. บูรณาการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมสู่ประชาชนและชุมชน
๓. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งระดับชุมชน ท้องถิ่น ชาติ และนานาชาติด้วยมิติทาง วัฒนธรรม
๔. บูรณาการความร่วมมือในการบริหารจัดการองค์ความรู้ และมรดกศิลปวัฒนธรรมให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทยและสังคมโลก

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ รักษา สืบทอดวัฒนธรรมของชาติและความหลากหลายของวัฒนธรรม ท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างค่านิยม จิตสำนึก และภูมิปัญญาคนไทย
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ นำทุนวัฒนธรรมของประเทศมาสร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การบริหารจัดการความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัดจันทบุรี

วิสัยทัศน์
จังหวัดจันทบุรีเป็นศูนย์กลางการค้าผลไม้ปลอดสารพิษและเป็นแหล่งค้าพลอยชั้นดีของโลก ประชาชนอยู่ในสังคมร่มเย็นเป็นสุข
ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ปรับโครงสร้างการผลิตเป็นเกษตรอินทรีย์
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สร้างมูลค่าเพิ่มแก่อัญมณี
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาคุณภาพชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี

วิสัยทัศน์
“เป็นศูนย์กลางขององค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม ในการบูรณาการการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม สู่สังคมแห่งความเข้มแข็ง”

พันธกิจ
๑. เสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพในการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมขององค์กร
๒. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
๓. สนองงานของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีการสืบทอดและพัฒนาอย่างยั่งยืน
๔. ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึกที่ดีงามสู่เด็ก เยาวชน และประชาชน
๕. ส่งเสริมการนำทุนทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

เป้าประสงค์
๑. องค์กรมีศักยภาพและสามารถดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๒. ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
ในพื้นที่
๓. สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดำรงอยู่อย่างมั่นคง ยั่งยืน
๔. งานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน
๕. เด็ก เยาวชน ประชาชน มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก ค่านิยมที่ดีงาม
๖. ทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กร
กลยุทธที่ ๑ พัฒนาบุคลากรและการจัดการความรู้ในองค์กร
เป้าประสงค์
บุคลากรมีศักยภาพในการปฏิบัติงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล
แนวทาง
๑. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานทั้งสมรรถนะหลัก และสมรรถนะประจำหน่วยงาน
๒. พัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
๓. จัดทำคู่มือในการปฏิบัติงาน
๔. จัดทำระบบติดตามประเมินผล
ตัวชี้วัด
๑. จำนวนบุคลากรที่ได้รับการพัฒนา
๒. จำนวนคู่มือที่จัดทำในการปฏิบัติงาน
๓. มีการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ครบวงจร

กลยุทธที่ ๒ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
เป้าประสงค์
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ
แนวทาง (ด้านประชาสัมพันธ์)
๑. จัดทำวารสารประชาสัมพันธ์
๒. พัฒนาเว็บไซต์สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
๓. เขียนข่าวประชาสัมพันธ์ไปยังสื่อต่าง ๆ
๔. ออกหน่วยประชาสัมพันธ์
๕. จัดรายการวิทยุ
แนวทาง (ด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ)
๑. พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
๒. พัฒนาระบบการให้บริการสืบค้น และเผยแพร่
ตัวชี้วัด
การรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของสำนักงาน

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ขยายและพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
กลยุทธที่ ๑ เพิ่มจำนวนเครือข่ายด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
เป้าประสงค์
เครือข่ายมีส่วนร่วมและบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
แนวทาง
๑. สร้างและขยายเครือข่ายการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมทุกประเภท
๒. ขยายเครือข่ายสภาวัฒนธรรมให้ครอบคลุมทุกอำเภอ
๓. สร้างและขยายเครือข่ายในกลุ่มเยาวชน
ตัวชี้วัด
จำนวนเครือข่ายที่ร่วมดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
กลยุทธที่ ๒ พัฒนาเครือข่าย
เป้าประสงค์
เครือข่ายมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
แนวทาง
๑. สร้างความรู้ ความเข้าใจ งานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมแก่เครือข่าย
๒. ศึกษาดูงานองค์กรเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง
๓. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายในการดำเนินงานกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
ตัวชี้วัด
จำนวนกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมที่เครือข่ายบูรณาการในการดำเนินงาน
ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ ๓ สนองงานสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด
งานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
กลยุทธที่ ๑ สนองงานสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เป้าประสงค์
สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่อย่างมั่นคง ยั่งยืน
แนวทาง
๑. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
๒. จัดกิจกรรมในวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ตัวชี้วัด
จำนวนกิจกรรมที่จัดขึ้น
กลยุทธที่ ๒ ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอดงานด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
เป้าประสงค ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด
ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
แนวทาง
๑. ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมในการอนุรักษ์
ฟื้นฟู สืบทอดด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
๒. ส่งเสริมให้มีการศึกษา วิจัย สืบค้น รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศาสนา
ศิลปะ วัฒนธรรมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอด
๓. ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
ตัวชี้วัด
จำนวนกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบทอดด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ ๔ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก ค่านิยมที่ดีงาม
กลยุทธที่ ๑ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน ประชาชน
เป้าประสงค์
เด็ก เยาวชน ประชาชนได้รับการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม
แนวทาง
๑. ส่งเสริมให้มีการจัดอบรมคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน
๒. ส่งเสริมพัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ลานบุญลานปัญญา โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน
๓. จัดกิจกรรมอบรมคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน
ตัวชี้วัด
จำนวนกิจกรมที่เสริมสร้างด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน
กลยุทธที่ ๒ สร้างค่านิยม จิตสำนึกที่ดีงาม
เป้าประสงค์
เด็ก เยาวชน ประชาชน มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
แนวทาง
๑. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่เอกลักษณ์ไทย เอกลักษณ์ท้องถิ่น และค่านิยมที่ดีงาม
๒. ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสร้างค่านิยม จิตสำนึกที่ดีงาม
๓. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน และองค์กรเครือข่ายทางวัฒนธรรม มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด
จำนวนกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสร้างค่านิยม จิตสำนึกที่ดีงาม

ยุทธศาสตร์ที่ ๕ นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ที่ ๑ นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
เป้าประสงค์
ทุนทางวัฒนธรรมได้รับการส่งเสริม พัฒนา เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจ
แนวทาง
๑. ส่งเสริมการนำคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นมาสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
๒. ส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่กลุ่มเด็กและเยาวชน ตลอดจนจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องภูมิปัญญา
๓. ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว
๔. ส่งเสริม พัฒนาโครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนให้เข้มแข้ง
๕. พัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมเพื่อประชาสัมพันธ์
๖. ส่งเสริมการพัฒนาและการใช้สื่อสร้างสรรค์ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัด
จำนวนทุนทางวัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา เผยแพร่เพื่อสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่ม
ทางเศรษฐกิจ


 

รวบรวม เรียบเรียง และพัฒนาโดย : งานยุทธศาสตร์และแผนงาน
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี ถนนเลียบเนิน ต.วัดใหม่
อ.เมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี 22000 เบอร์โทรศัพท์ 039 - 303298
ติดต่อผู้ดูแลระบบ
chan_culture@hotmail.com
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ออกแบบโดย    นายธนัฐ  ยังเหลือ....
ปรับปรุงและพัฒนาโดย   นายชวลิต  อยู่รอต....
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -