CPanel

Home ปฏิทินวัฒนธรรม



ปฏิทินกิจกรรมเทศกาล และงานประเพณี ประจำปี 2554

E-mail Print
There are no translations available.

ที่

งานประเพณี

สถานที่จัดงาน

ช่วงระยะเวลา

ในการจัดงาน

รายละเอียด

และความเป็นมา

๑.

ทำบุญวันขึ้นปีใหม่

สนามกีฬาต้านยาเสพติดข้างศาลพระหลักเมืองอ.เมืองฯ  จ.ปราจีนบุรี

วันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี

เป็นการทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เพื่อเป็นสิริมงคลในวันขึ้นปีใหม่แบบสากล

๒.

สู่ขวัญข้าว

ต.นนทรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน  ๓ ของทุกปี

เป็นการเรียกขวัญแม่โพสพและเพื่อเป็นสิริมงคลของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว

๓.

ผีปู่ตาบ้าน

ต.โคกปีบ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

ประมาณวันที่ ๑๒ พฤศจิกายนของทุกปี

เป็นความเชื่อเกี่ยวกับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ดวงวิญญาณยังคงอยู่คอยดูแลปกปักรักษาลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข  จึงจัดให้มีพิธีการเลี้ยงผีปู่ตาบ้านเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู

๔.

พิธีกรรมการเล่นผีโรง

ลานกลางหมู่บ้านแปลงประดู่  หมู่ ๒ต.หนองโพรง อ.ศรีมหาโพธิ
จ.ปราจีนบุรี

วันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ของทุกปี

เป็นพิธีกรรมที่มีผลทางด้านจิตใจของชาวไทยเชื้อสายเขมร บูชาครูผีและคณะตามที่ได้บนบาน หรือขอให้สมหวังในการงานหรือหายจากการเจ็บป่วย จึงนำของมาบูชาทุกๆ ปี ญาติพี่น้องจะมาพร้อมหน้ากันในวันนี้เหมือนหนึ่งเป็นวันรวมญาติและรับพรจากครูผีและคณะ

๕.

งานเทศกาลมาฆปูรมีศรีปราจีน

วัดสระมรกต  ต.โคกไทย อ.ศรีมโหสถ  จ.ปราจีนบุรี

สัปดาห์วันมาฆบูชา ประมาณ ๑๐ วัน

เริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐  เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัด

๖.

บุญข้าวหลาม

วัดที่อยู่ในหมู่บ้าน ต่าง ๆใน ต.โคกไทย  อ.ศรีมโหสถ ต.หัวหว้า  และต.ดงกระทงยาม อ.ศรีมหาโพธิ

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

เป็นการทำบุญวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ของประชาชนชาวไทยเชื้อสายพวน

๗.

วันสงกรานต์

ทุกอำเภอในจังหวัดปราจีนบุรี

ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ของทุกปี

เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่แบบไทย มีความหมายต่อสมาชิกในครอบครัว  ร่วมทำบุญตักบาตร  รดน้ำขอพรผู้ใหญ่  เพื่อเป็นสิริมงคล

 

๘.

เลี้ยงผีกลางทุ่ง

หมู่บ้านบริเวณวัดแจ้ง ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี

หลังจากการทำบุญวันสงกรานต์

ชาวบ้านมีความเชื่อต่อกันมาว่า การเลี้ยงผีจะทำให้คนในหมู่บ้านปลอดภัยไม่เจ็บป่วย  ไม่มีเคราะห์ร้ายและทำให้อยู่เย็นเป็นสุข มีพิธีสงฆ์มีการเข้าร่างทรง และทำบัดแพเลี้ยงผี

 

๙.

งานนมัสการต้นโพธิ์ศรี-มหาโพธิ์

วัดต้นโพธิ์  หมู่ ๖ ต.โคกปีบ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

กลางเดือนเมษายนของทุกปี

เป็นการบูชาต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นสิริมงคล

๑๐.

ก่อพระเจดีย์ทราย

บ้านหนองเอี่ยน หมู่ ๑ ต.นาแขม อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

เดือนเมษายนของทุกปี

เป็นประเพณีดั้งเดิมของหมู่บ้านหนองเอี่ยน เมื่อถึงช่วงหน้าแล้งน้ำลง ชาวบ้านจะประกอบพิธีก่อพระเจดีย์ทรายบริเวณกลางหาด ริมแม่น้ำแควหนุมาน

 

๑๑.

งานเทศกาลวันวิสาขบูชา

วัดบ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ประมาณ  ๑-๒ วัน

เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพระพุทธศาสนา ของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า

๑๒.

งานวันเกษตรของดีเมืองปราจีนบุรี

ลานพระบรมราชานุสาวรีย รัชกาลที่ ๕ หน้าศาลากลาง (หลังเก่า)  จังหวัดปราจีนบุรี

เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี

เป็นการจัดงานเพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรนำผลิตผลทางการเกษตรมาจัดร้านจำหน่าย เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของจังหวัด

 

๑๓.

งานบุญบั้งไฟ

หมู่ ๖ ต.โคกปีบ  อ.ศรีมโหสถ
จ.ปราจีนบุรี

กลางเดือน ๖ ของทุกปี

เป็นประเพณีความเชื่อเรื่องลี้ลับเกี่ยวกับการขอฝน

๑๔.

งานสัปดาห์ล่องแก่งหินเพิง

หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่ที่  ๙ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

เดือนกรกฎาคมของทุกปี

เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สนุกสนานตื่นเต้น  และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดให้ดีขึ้น

๑๕.

วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา

ทุกพื้นทีในจังหวัดปราจีนบุรี

ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘  และแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘

เป็นการทำบุญเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก มีการถวายเทียนจำนำพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุ

 

๑๖.

แห่พระทางน้ำ

ต.บางแตน  อ.บ้านสร้าง

จ.ปราจีนบุรี

กลางเดือน ๑๑ หรือวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๑๑

เป็นการดัดแปลงประเพณีอุ้มพระดำน้ำของศาสนาพราหมณ์ให้เข้ากับพระพุทธศาสนา

๑๗.

แห่ปราสาท

ดอกผึ้ง

อำเภอกบินทร์บุรี  จ.ปราจีนบุรี

ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน เดือน ๑๑ (ก่อนวันออกพรรษา ๑ วัน)

เป็นประเพณีที่มุ่งกระทำเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นสิริมงคล

๑๘.

งานถวายผ้า

พระกฐินพระราชทาน

วัดบางกระเบา(พระอารามหลวง)ต.บางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑-วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๑๒ของทุกปี

วัดบางกระเบา จะได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานโดยมีหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ เป็นเจ้าภาพมาทอดถวายเป็นประจำทุกปี  เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวอำเภอบ้านสร้างและชาวปราจีนบุรี

๑๙.

 

 

 

 

 

 

ประเพณีการแข่งเรือยาว

 

 

 

 

๑. แม่น้ำปราจีนบุรีหน้าที่ว่าการ  อ.เมืองปราจีนบุรี
๒. บริเวณหน้าวัดบางแตน ต.บางแตน  อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

ประมาณสัปดาห์ที่  ๒  ของเดือนกันยายน – กลางเดือนตุลาคม  ของทุกปี

 

๑. เพื่อเป็นการสืบทอดการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสามัคคีและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
๒. เพื่อรักษาสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่  และปลุกจิตสำนึกความภาคภูมิใจในสถานที่  ซึ่งครั้งหนึ่ง  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ  รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จมาประทับ ณ  ภูมิภาคแห่งนี้

๒๐.

กวนข้าวทิพย์

วัดทับช้าง  วัดแจ้งและวัดศรีมงคล
อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

ก่อนวันออกพรรษา
๑  วัน  ทุกๆ  ปี(วันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๑)

-  เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีบรรพบุรุษดั้งเดิมอยู่ในภาคอีสาน  ได้เดินทางมาตั้งหลักแหล่งในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี- “  ข้าวทิพย์ ”  เป็นอาหารที่ดีวิเศษ  หรือเป็นอาหารของเทวดา  ได้ผ่านขั้นตอนการปรุงแต่งเป็นอย่างดี  ในตอนหนึ่งของพุทธประวัติ  พระพุทธเจ้าได้ทรงเสวยข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส  ซึ่งนางสุชาดานำมาถวาย  และได้ทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมโพธิญาณ 

๒๑.

ตักบาตรเทโวโรหนะ

วัดเขาวงษ์  หมู่ ๙  ต.ย่านรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

วันแรม  ๑  ค่ำ เดือน ๑๑  ของทุกปี

เป็นความเชื่อในเรื่องของพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก  จึงได้มีการจัดพิธีทำบุญตักบาตรขึ้น

๒๒.

ลอยกระทง

ทุกพื้นที่ในจังหวัดปราจีนบุรี

วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ของทุกปี

เป็นการขอขมาแด่แม่พระคงคาและบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยนางนพมาศเป็นผู้ริเริ่มทำกระทงขึ้นเป็นครั้งแรก

๒๓.

งานนมัสการหลวพ่อทวารวดี

หน้าที่ว่าการอำเภอศรีมโหสถ หมู่ ๓ต.โคกปีบ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี

ระหว่างเทศกาลงานลอยกระทง วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ของทุกปี

หลวงพ่อทวารวดีเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยทวารวดี  เพื่อความเป็นสิริมงคล  จึงได้จัดให้มีการทำบุญตักบาตร  ปิดทองนมัสการ  เพื่อ ขอพร  เป็นประจำทุกปี