วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์
จังหวัดลพบุรี


วิสัยทัศน์

                       "ฐานการผลิตอาหาร และพลังงานสะอาดระดับโลก มุ่งสู่เมืองน่าอยู่ "

พันธกิจ (Mission)

          ๑. พัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจและเพิ่มผลิตภาพอาหารปลอดภัย
          ๒. เสริมสร้างศักยภาพคน ครอบครัว ชุมชนและสังคมที่มีคุณภาพ
          ๓. พัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ เพื่อการท่องเที่ยว อย่างมีคุณภาพ
          ๔. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนที่ยั่งยืน
          ๕. พัฒนา และส่งเสริมวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยความมั่นคง ภายในสังคม
          ๖. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการจังหวัด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนภายใต้หลักเกณฑ์
และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ยุทธศาสตร์
          ๑. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการผลิตอาหารปลอดภัย
          ๒.  ส่งเสริมและสนับสนุนพลังงานสะอาด
          ๓.  พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
          ๔.  สร้างโอกาสทางการศึกษา และคุณภาพชีวิตของประชาชน
          ๕. บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

เป้าประสงค์รวม (Objectives)
          ๑. เพิ่มผลผลิตภาพเศรษฐกิจของจังหวัดดารงรักษาความมั่นคงทางอาหารและแหล่งพลังงานสะอาดที่สำคัญของประเทศ
          ๒. พัฒนาคน ชุมชนเข้มแข็ง และสังคมแห่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความสมานฉันท์ เอื้ออาทรมุ่งสู่สังคมคุณภาพ
          ๓. ใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาจังหวัดอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า เชิงภารกิจของจังหวัด
          ๔. เพิ่มสมรรถนะกระบวนการบริหารจัดการภาคการผลิตและภาคการบริการอย่างมีประสิทธิผล
          ๕. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการอย่างมีผลสัมฤทธิ์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนสูงสุด
          ๖. พัฒนาจังหวัดลพบุรีเป็นเมืองที่น่าอยู่

ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันการผลิตอาหารปลอดภัย
เป้าประสงค์      รักษาความอุดมสมบูรณ์ความมั่นคงทางอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจังหวัด
กลยุทธ์
          ๑. การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุนการผลิตสินค้าอาหารปลอดภัย
          ๒. การแปรรูปเพื่อสร้างและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย
          ๓. การพัฒนาระบบการตลาดสินค้าอาหารปลอดภัย
          ๔. การพัฒนาการขนส่งสินค้า และการบริหารจัดการสินค้า (Logistics)
          ๕. การพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๒ ส่งเสริมและสนับสนุนพลังงานสะอาด
เป้าประสงค์      พิ่มศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาด
กลยุทธ์
          ๑. การพัฒนาถ่ายทอดความรู้ด้านพลังงานทดแทน
          ๒. การส่งเสริมความเข้มแข็งประชาชนพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน โดยการมีส่วนร่วมระหว่างรัฐ เอกชน ท้องถิ่น
          ๓. การส่งเสริมศักยภาพในการผลิต การประยุกต์ใช้ และการลงทุนด้านพลังงานทดแทน
          ๔. การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
เป้าประสงค์      เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
กลยุทธ์
          ๑. การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านท่องเที่ยว
          ๒. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว
          ๓. การพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการ ผู้ประกอบการ และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
          ๔. การพัฒนาด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์
          ๕. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงความรู้ ด้านนวัตกรรมพลังงานทดแทน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ สร้างโอกาสทางการศึกษา และคุณภาพชีวิตของประชาชน
เป้าประสงค์
          ๑. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ
และวัฒนธรรมค่านิยมในการอนุรักษ์ฟื้นฟู สืบทอด ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
          ๒.ประชาชนมีสุขภาพ กาย จิต สังคม สิ่งแวดล้อม สติปัญญา ที่ดี และมีครอบครัวที่อบอุ่นชุมชนที่เข้มแข็ง
          ๓. เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
          ๔. ทรัพยากรธรรมชาติมีความสมดุลและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพ
กลยุทธ์
          ๑. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ศาสนา และวัฒนธรรม
          ๒. การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          ๓. การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงทางครอบครัว และชุมชน
          ๔. การพัฒนาสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อชีวิตและสังคม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๕ บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์      ภาครัฐและเอกชนมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
กลยุทธ์
          ๑. การเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการภาครัฐ
          ๒. การพัฒนาระบบวางแผนยุทธศาสตร์และบริหารงบประมาณจังหวัด