นามของวัด
       
         วัดนี้ เดิมเรียกว่าวัดเขาพระงาม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖
  ในงานผูกพัทธสีมา กลางเดือน ๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ-
  เกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖  เสด็จเยี่ยม  ทรงทอดพระเนตรวิธี
  ผูกพัทธสีมา  แล้วทรงพระราชทานพระราชหัตถเลขานามว่า
  วัดสิริจันทรนิมิตรสืบมา
         ประวัติวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร
                     (เขาพระงาม)        


 
               วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหารตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเชิงเขาพระงาม ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
               เดิมเป็นวัดร้างมานานจนสืบไม่ทราบประวัติ มีอุโบสถหักพังและพระพุทธรูปเป็นที่สังเกต ครั้นมาถึงเดือน ๗ ข้างแรม
 ปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)  หลังจากท่านได้สมโภชพระประธานที่ศาลาการเปรียญที่วัด
บรมนิวาสแล้วได้ออกไปรุกขมูล ๓ รูป คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชกวี ๑ พระครูปลัดอ่ำ
ภทฺราวุโะ ๑ พระฐิตวีโร (ทา) ๑ ได้ไปพักที่ถ้ำเขาพระงาม เห็นเป็นสถานที่สำราญดี พระครูปลัดจึงได้ปรึกษากับท่านเจ้าคุณขอลา
การงานออกไปพักเพื่อหาที่วิเวกส่วนตัว ได้รับอนุญาตตามประสงค์ เดือน ๘ ทุติยมาส ได้ให้พระทาคอยอยู่ที่ถ้ำ พระครูปลัดกลับเข้า
ไปกรุงเทพฯเพื่อส่งท่านเจ้าคุณ ครั้นถึงเดือน ๘ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ได้พาพระสังกิจโจ ลำเจียก ผู้เป็นอันเตวาสิก  ออกมาจำพรรษาอยู่ที่
เขาพระงาม รวมเป็น ๓ รูปด้วยกัน การก่อสร้างเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ มาจนถึงเดือน ๙ มีพระยาสมบัตยาบาล (ทรัพย์) ได้มาปฏิสังขรณ์ถ้ำถวาย คือก่อฝาผนังด้วย ศิลาถือปูนซิเมนต์ มีประตู ๑ หน้าต่าง ๔ ลาดพื้นด้วยซิเมนต์ และปฏิสังขรณ์พระไสยาสน์ในถ้ำด้วย สิ้นเงิน ๑,๓๐๐ บาทเศษ และได้จารึก หน้าถ้ำบนประตูตามนามของท่านพระครูปลัดขึ้นไปว่า "ถ้ำภัทราวุโธ ร.ศ. ๑๓๑" แต่ยังเหลือปูนซิเมนต์อยู่อีก ๓ ถัง ท่านพระครูปลัดจึงได้ หารือกับจีนผู้เป็นนายช่างว่า จะเก็บพระพุทธรูปที่อยู่ในถ้ำซึ่งหัก ๆ พัง ๆ รวมกันก่อเป็นพระสังกัจจายน์ เจ๊กก็รับว่าจะทำได้ ท่านจึงมี หนังสือไปหารือท่านเจ้าคุณทางกรุงเทพฯ ถึงเรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณได้ตอบว่า เธอจะคิดทำก็ควร แต่พระพุทธรูปถึงจะหักพังก็ยังนับว่าเป็น รูปพระพุทธเจ้า เธอจะเอามารวมให้เป็นรูปพระสังกัจจายน์ซึ่งเป็นสาวกดูจะไม่สู้เหมาะ คนบางคนเขาจะติเตียน ปูนที่เหลือเธอก่อถัง น้ำฝนไว้ใช้เถิด ออกพรรษาแล้วฉันจะไปหาเธอเพื่อหารือในการสร้างพระใหญ่กันอีกที ครั้นถึงเดือน ๑๒ ท่านได้มาพักที่ถ้ำ ได้ตกลง กันในการที่จะสร้างพระใหญ่ต่อไป ดังที่ปรากฎในคำปรารภของท่าน และคำจารึกในแผ่นศิลาแท่นพระใหญ่ทั้ง ๒ คราว สิ้นเงิน ๖๓,๐๐๐ บาทเศษ ที่ตรงหน้าพระใหญ่ลงมาเถ้าแก่เอ้งมีศรัทธา ได้ปฏิสังขรณ์ถ้ำ มีประตูหน้าต่างลาดพื้นด้วยซิเมนต์และมีถังน้ำปูนซิเมนต์ด้วย สิ้นเงิน ๕๐๐ บาทเศษ ได้จารึกนามไว้ตรงประตูขึ้นไปว่า "ถ้ำราชกวี ร.ศ. ๑๓๑"

 

 

 

 

 

 

 

                  
                    เจ้าอาวาสวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร

ผู้สถาปนาวัด พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันฺโท จันทร์) รายนามเจ้าอาวาส ๑. พระเทพวรคุณ (อ่ำ ภทฺราวุโธ) พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๗๕ ๒. พระศีลวรคุณ (ลำเจียก สงฺกิจฺโจ) พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๐๖ ๓. พระเทพวรคุณ (พิมพ์ ปญฺญาทีโป) พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๓๓ ๔. พระครูสุธรรมถิราจาร (สุพจน์ ถิราจาโร) พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๔๘ ๕. พระอนันตสารโสภณ พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน